การประชุมเสวนาอย่างไม่เป็นทางการว่าด้วยนโยบายด้านยาเสพติดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการเพาะปลูกฝิ่นและการขยายตัวของตลาดสารกระตุ้นจิตและประสาทในประเภทแอมเฟตามีน
ในเดือนธันวาคม 2555 ตัวแทนชุมชน ภาคประชาสังคม รัฐบาลและหน่วยงานระหว่างรัฐบาล ได้ประชุมเสวนาอย่างไม่เป็นทางการเกี่ยวกับนโยบายด้านยาเสพติดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดีย ผู้จัดรายการแลกเปลี่ยน ได้แก่ Transnational Institute และ Deutsche Gesellschaft für Internationale Zusammenarbeit (GIZ—หน่วยงานเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งเยอรมนี) โดยความร่วมมือกับปปส. และเป็นการประชุมตามหลักการ Chatham House เพื่อประกันให้มีการเก็บข้อมูลที่พูดคุยเป็นความลับ และเพื่อสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนความเห็นอย่างเสรี ส่งผลให้มีการพูดคุยอย่างจริงใจเป็นเวลาสองวันเกี่ยวกับปัญหาของผู้ปลูกฝิ่น ผู้ใช้ยา และผู้กำหนดนโยบาย และวิธีการที่จะแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้นในช่วงที่บริบทด้านการเมือง เศรษฐกิจ และความมั่นคงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
ในแง่ของแนวทางการพัฒนาทางเลือกในอินเดีย ลาว และพม่า มีข้อเสนอแนะอย่างหนักแน่นต่อหน่วยงานของรัฐบาลให้ปรึกษาหารือกับผู้เพาะปลูกฝิ่นเกี่ยวกับปัญหาการใช้ฝิ่นและการเพาะปลูก ก่อนที่จะทำลายพืชเหล่านี้ไป มีข้อเสนอแนะให้รัฐควบคุมการจัดหาฝิ่น เพื่อป้องกันไม่ให้จำนวนผู้ใช้ฝิ่นเพิ่มมากกว่านี้ มีการพูดคุยอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับแนวทางด้านการพัฒนาที่เหมาะสมเพื่อเป็นโครงการที่กำจัดฝิ่น และการยอมรับข้อมูลพื้นฐานว่าเกษตรกรหลายคนปลูกฝิ่นเนื่องจากไม่มีช่องทางทำมาหากินอย่างอื่นที่ยั่งยืนและเพียงพอ
การใช้และการค้าสารกระตุ้นจิตและประสาทในประเภทแอมเฟตามีน และนโยบายที่เกี่ยวข้องและการรักษาอาการเนื่องจากสารกระตุ้นจิตและประสาทในประเภทแอมเฟตามีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นหัวข้อหลักของการประชุมเสวนาในส่วนที่สอง โดยมีการแสดงความไม่เห็นด้วยอย่างกว้างขวางในที่ประชุมสำหรับวิสัยทัศน์ของยุทธศาสตร์ด้านยาเสพติดของอาเซียน ที่ต้องการเป็นภูมิภาคที่ปลอดจากยาเสพติด โดยมองว่าเป็นการทำให้ปัญหาด้านยาเสพติดเป็นประเด็นทางการเมือง และเสนอว่าทัศนคติของประชาชนต่อยาเสพติดเป็นข้อกังวลด้านความมั่นคงหลักในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายประเทศ ดูเหมือนพื้นที่การประชุมเสวนาภายในอาเซียนมีอยู่จำกัด ทำให้ไม่สามารถสนับสนุนกระบวนการถกเถียงเกี่ยวกับนโยบายด้านยาเสพติดอย่างเป็นกลางได้มากกว่านี้ ก่อนที่จะมีการจัดทำนโยบายด้านยาเสพติดฉบับใหม่เพื่อทดแทนฉบับปัจจุบัน ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ถึงเพียงปี 2558 เป็นที่ชัดเจนว่าเราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้มากขึ้นเกี่ยวกับผลกระทบของยาต่อสุขภาพ โดยเฉพาะสารกระตุ้นจิตและประสาทในประเภทแอมเฟตามีน แรงจูงใจในการใช้ยา และแนวโน้มที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เพื่อจัดทำการรักษาและการกำหนดนโยบายเพื่อแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมและมีหลักฐานรองรับ การอภิปรายเกี่ยวกับนโยบายด้านยาเสพติดที่สำคัญได้เปลี่ยนไปสำหรับสหรัฐอเมริกา ประเทศต่าง ๆ ในอเมริกาใต้ เช่น อุรุกวัย และภูมิภาคละตินอเมริกา ทำให้เกิดความหวังว่าอาจมีอุปสรรคต่อการกำหนดนโยบายด้านยาเสพติดที่เป็นอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดีย โดยอาจเกิดขึ้นตามลำดับ
สำหรับรายละเอียดการพูดคุยในการประชุมเสวนาอย่างไม่เป็นทางการครั้งนี้ โปรดดูได้จากในรายงานซึ่งจะมีการตีพิมพ์เร็ว ๆ นี้โดย Transnational Institute
กลอเรีย ไหล (Gloria Lai) เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านนโยบาย IDPC
สมัครสมาชิกแจ้งข่าวIDPC ทุกเดือน เพื่อรับข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับนโยบายยาเสพติด
Topics
Related Profiles
- Transnational Institute (TNI)
- International Drug Policy Consortium (IDPC)
- Deutsche Gesellschaft für Internationale Zusammenarbeit